จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของ “จิตวิทยา”
จิตวิทยา
(อังกฤษ: psychology) คือ
ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม
ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้
(กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ
ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น)
และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต
นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ
ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม
ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
บทนำ
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ
อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ
ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน
เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน
อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้
ภาษาทางจิตวิทยา
จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น
ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ
และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา
ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา
เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป
กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา
หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา
แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้
หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์
เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที
แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว
นักจิตวิทยาได้แบ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาทางจิตวิทยาออกเป็น
3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มแรกเห็นว่า การเลือกปัญหานั้น
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของนักจิตวิทยา กลุ่มที่สองนั้นกลับเห็นว่า
การเลือกปัญหาและการตั้งคำถามควรจะเป็นไปตามทฤษฎี
และกลุ่มหลังเห็นว่าความอยากรู้อยากเห็นที่เกิดขึ้นเอง
เป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรามองโดยรวมแล้ว
จะเห็นว่าทั้งความอยากรู้อยากเห็นและทฤษฎี ต่างก็มีส่วนช่วยในการสังเกต อธิบาย
และตีความข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพราะทฤษฎีนั้นมีบทบาทที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่สังเกต
และชี้ให้เห็นคำถามใหม่ ๆ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของข้อมูลต่าง ๆ
ดังนั้นทฤษฎีจึงมีประโยชน์และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับทั่วไปและทั่วโลกก็ต่างกันยอรับ
ทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยา
ในทางจิตวิทยานั้นมีทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยาอยู่มากมาย
หลักนั้นมี ทฤษฎีความสับสน คือ ผู้ป่วยนั้นจะเกิดความสับสนและแปรปรวนทางด้านอารมณ์
เกิดจากความไม่แน่นอนของจิต
ซึ่งส่วนมากอาการที่แสดงออกมักจะเป็นการทำสิ่งที่ไม่ค่อยปกติ กังวน ไม่แน่นอน
และอื่นๆ ทฤษฎีการปฏิเสธ คือ
การที่ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตใจซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางบ้าน, ปัญหาทางด้านสังคม
ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะโยนเอาปัญหาที่ตัวเองมีอยู่ให้กับผู้อื่น
เนื่องจากการที่ไม่สามารถยอมรับปัญหาเหล่านั้นได้
โดยมากแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะหายในระยะเวลาไม่นานนัก แต่หากยังมีอยู่ควรพบจิตแพทย์--ดร.แอล.ดี.ชลิปป
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป
วิธีการทางจิตวิทยาประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ
ขั้นการสังเกตองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สำคัญ ๆ อย่างมีระบบ
และขั้นการรวบรวมและตีความข้อมูลที่ได้มา ซึ่งการดำเนินการสังเกตอย่างมีระบบ คือ
ความพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของอคติหรือความลำเอียงของผู้สังเกต
และสามารถรับรองได้ว่า การสังเกตนั้นสามารถกระทำซ้ำได้
วิธีการสังเกตอย่างมีระบบนั้น
มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดลอง (experimental
method) โดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นเพื่อสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา
และวิธีการหาความสัมพันธ์ (correlation method) โดยการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
วิธีการทดลอง
ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง
2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง
หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง
วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ
เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด
อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ
ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น
2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม
ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ
หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว
ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ
เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป
วิธีการหาความสัมพันธ์
วิธีการหาความสัมพันธ์
เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป
โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2
ตัว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient
correlation) ซึ่งจะมีค่าระหว่าง -1.00 ถึง 1.00
วิธีการหาความสัมพันธ์ มีดังต่อไปนี้
วิธีวัดทางจิตวิทยา
(Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม
เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล
หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน
งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น
วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว
ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง
การสังเกตในสภาพธรรมชาติ
(Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ
เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต
ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม
ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง
ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน
การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค
(Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล
(กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา
พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม
เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง
ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค
ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้
ทั้งวิธีการทดลองและวิธีการหาความสัมพันธ์ต่างก็มีประโยชน์และความเหมาะสม
ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่หลายๆ ครั้งที่มีการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน
เพื่อการศึกษาที่ละเอียดหลายๆด้าน และเป็นประโยชน์ในทางจิตวิทยามากยิ่งขึ้น
โครงสร้างของจิตวิทยา
จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3
ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ลักษณะเนื้อหาวิชา
แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้,
การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์,
ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา,
บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม,
จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
เป้าหมายของจิตวิทยา
เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน
มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย
ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่
ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย
มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
การวิจัยประยุกต์
ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ
นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ
ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย
บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
การประยุกต์ใช้
เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม
สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก
รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา
นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย
บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม,
ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น
ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น
จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับวิชาจิตเวชศาสตร์
(อันเป็นส่วนหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ คือสาขาที่ว่าด้วยการรักษาจิตใจ)
และกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม
ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน
ทั้งทางด้านพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ เคลื่อนไหวของร่างกาย
และปัจจุบันก็สัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา
โดยมานุษยวิทยาศึกษาจุดกำเนิด ของมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
สิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่วนด้านสังคมวิทยาจะเน้น ศึกษากลุ่มสังคมมากกว่าตัวบุคคล
โดยศึกษาการปะทะสังสรรค์ของแต่ละบุคคลในกลุ่ม และศึกษาอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อ
แต่ละบุคคล
จิตวิเคราะห์
จิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว
คือ น.พ. ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์
การศึกษาของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต
และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา
การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต
และจิตพยาธิวิทยา
ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์
และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง
เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ
และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม
แต่ฟรอยด์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นประเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้
ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก
ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น
ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด
ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้
การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ
ในคริสต์ศตวรรษที่
13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย
ในคริสต์ศตวรรษที่
15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ
มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย
กลางคริสต์ศตวรรษที่
17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British
Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก
จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น
นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic
Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น
ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ
ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์
คือ จิตฟิสิกส์
ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา
การขยายตัวทางจิตวิทยา
ห้องปฏิบัติการทดลองทางจิตวิทยาห้องแรก
ถูกสร้างขึ้นโดย Wilhelm Wundt ในปี
ค.ศ. 1879 ที่เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมนี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้น คือ
กลุ่มโครงสร้างนิยม (Structuralism) การศึกษาจิตต้องศึกษาส่วนย่อย
ๆ ที่ประกอบขึ้นมา ใช้วิธีการพื้นฐานทางจิตวิทยา คือ การสังเกตตนเอง
หรือที่เรียกว่า การตรวจพินิจจิต (Introspection)
ในปี
ค.ศ. 1890 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มจิตวิทยาขึ้นใหม่อีก คือ กลุ่มหน้าที่นิยม (Functionalism) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า จิตวิทยาควรเป็นการศึกษาวิธีการที่คนเราใช้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคคลนั้นพอใจ และเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของบุคคลนั้นด้วย
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจ ความรู้สำนึก (consciousness) เพราะความรู้สำนึกเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลเลือกกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความรู้สำนึกเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกวิเคราะห์เป็นส่วนย่อยได้
นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมากกว่าการศึกษาพฤติกรรมที่ปรากฏออกมา
ให้เห็น
ในช่วงเวลาเดียวกัน
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic
theory) โดยมีวิธีการศึกษา
จากการสังเกตและรวบรวมประวัติคนไข้ที่มารับการบำบัดรักษา
ฟรอยด์เชื่อว่าความไร้สำนึกมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม
และเน้นถึงความต้องการทางเพศตั้งแต่วัยเด็ก
ในช่วงต้นศตวรรษที่
20 จอห์น บี วัตสัน ได้ก่อตั้ง กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioralism)
โดยเห็นว่า การตรวจพินิจจิตเป็นวิธีการที่ไม่ดีพอ
การศึกษาจิตวิทยาควรจะหลีกเลี่ยงการศึกษาจากความรู้สำนึก แล้วหันไปศึกษา
พฤติกรรมที่มองเห็นได้ เพื่อให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ได้
และเน้นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่ามี อิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าพันธุกรรมอีกด้วย
ในช่วงเวลาเดียวกัน
ประเทศเยอรมนีได้เกิดกลุ่มจิตวิทยาขึ้น ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นว่า
การทำงานของจิตเป็นการทำงานของส่วนรวม ดังนั้นจึงสนใจศึกษาส่วนรวมมากกว่าส่วน ย่อย
แนวคิดนี้เริ่มมีบทบาทขึ้นเมื่อนักจิตวิทยาชาวอเมริกันเริ่มให้ความสนใจในปัญหาของการรับรู้
การคิดแก้ปัญหาและ บุคลิกภาพ จนนำไปสู่การเกิดขึ้นของกลุ่มจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ
(Cognitive psychology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกภายใน
ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล และต่อจากนั้นมา
จิตวิทยาก็เป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปและนิสิตนักศึกษามาก ขึ้นเรื่อยๆ
จิตวิทยาในประเทศไทย
หลายคนเชื่อว่าจิตวิทยาเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
2,500 กว่าปีมาแล้ว นั่นคือ จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง
สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งมีหลักฐานปรากฏว่ามีการสอนวิชาจิตวิทยาในโรงเรียนฝึกหัดครูปฐม
ในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2473 เล็กน้อย และในปี พ.ศ. 2473
ก็มีการสอนจิตวิทยาเป็นวิชาหนึ่งใน 5 วิชา
ของการสอนวิชาครุศาสตร์ในคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จนกระทั่ง
ปีพุทธศักราช 2507 ก็ได้เกิดภาควิชาจิตวิทยา
ที่เปิดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก
ที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นหลักสูตร 4 ปี
เมื่อศึกษาสำเร็จแล้วจะได้วุฒิ "ศิลปศาสตรบัณฑิต(จิตวิทยา)"
กระทรวงศึกษาธิการด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(UNESCO) ได้จัดตั้ง
สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา
(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก
ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน
สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต
มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า
ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป
จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท
และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ
ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์
เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1.
สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2.
ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3.
ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4.
สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
พฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3
กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง
การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรีย
การสอนในการสอนที่ดี
ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้
ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง
ๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.
จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก
วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน
ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ
พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน
เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
การรับรู้และการเรียนรู้
การเรียนรู้
คือ
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร
หลักของการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ
1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
(classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง
มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข
จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน
และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน
ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน
เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ
อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ
อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11
เดือน
โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ
เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย
ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู
พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ
แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก
เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ
วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว
วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว
ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว
นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข
3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
(operant conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์
เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า
การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง
แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว
โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า
กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก
ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้
การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ
กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด
ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา
มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย
เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก
ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้
เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์
ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น
ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท
ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก
จิตวิทยาการรับรู้
เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง
เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ
ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์
เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
๓.
ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น
ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี
โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว
ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดี
มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี
1.
สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2.
ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3.
ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4.
สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1.
พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2.
จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3.
ทักษะพิสัย หมายถึง
การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน
ในการสอนที่ดี
ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์
เช่น
1.
การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2.
การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3.
การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4.
การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
ขอบเขตการศึกษา
การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เป็นตัวกำหนดรายละเอียดของเนื้อหา
แบบทดสอบกิจกรรมการเรียน และสื่อการเรียนการสอนวัตถุประสงค์ของบทเรียนอย่างละเอียดซึ่งในสื่อดังกล่าวนี้ได้ให้ความ
หมายของการวิเคราะห์วัตถุประสงค์โดยแยกเป็นส่วนต่างๆ
คือ
ประเภทของการวิเคราะห์วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ทั่วไป
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ส่วนประกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
พฤติกรรมที่คาดหวัง
เงื่อนไขหรือสถานการณ์
เกณฑ์หรือมาตรฐาน
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ด้านพุทธิพิสัย
ด้านทักษะพิสัย
ด้านเจตคติ
ประโยชน์ของการจำแนก
ตัวย่างการจำแนกวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ทางด้านพุทธิพิสัย
วัตถุประสงค์ทางด้านทักษะพิสัย
วัตถุประสงค์ทางด้านเจตคติ
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก
มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง
นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
หลักการสำคัญการสอน
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.
มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.
มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.
มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จิตวิทยาสำหรับครู — Presentation
Transcript
1.
จิตวิทยาสำหรับครู5นายพิพัฒน์ พรพรรณนุกูลผู้อำนวยการโรงเรียนโชคชัยสามัคคี
อำเภอโชคชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต
2สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
2.
บรรยากาศของห้องเรียน14/06/532พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล : จิตวิทยาสำหรับครู
3.
หลักการปฏิบัติของครูและนักเรียนการตกลงกันระหว่างครูและนักเรียนครูและนักเรียนปรับปรุงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ครูและนักเรียนสร้างบรรยากาศของห้องเรียน14/06/533พิพัฒน์
พรพรรณนุกูล : จิตวิทยาสำหรับครู
4. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนทำอย่างไร?14/06/534พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล : จิตวิทยาสำหรับครู
5.
หน้าที่ของครูช่วยนักเรียนมีอัตมโนทัศน์ยอมรับนักเรียนรู้จักนักเรียนทั้งทักษะและความสามารถครูเป็นตัวแบบร่วมสร้างห้องเรียน
“เอาใจเขา มาใส่ใจเรา”14/06/535พิพัฒน์
พรพรรณนุกูล : จิตวิทยาสำหรับครู
6.
ความคาดหวังของครูGood : ความคาดหวังต่อนักเรียนบางคนโดยเฉพาะคาดหวังพิเศษ
จึงแสดงออกกับนักเรียนต่างกันพฤติกรรมครูแสดงต่อนักเรียนครูแสดงกับนักเรียนสม่ำเสมอนักเรียนไม่ต่อต้านพยากรณ์นักเรียน14/06/536พิพัฒน์
พรพรรณนุกูล : จิตวิทยาสำหรับครู
7.
พฤติกรรมครู : บรรยากาศของห้องเรียนKounin : ทราบความเคลื่อนไหวของห้องเรียนดูแลชั้นเรียนให้ทั่วถึงจัดห้องให้เหมาะกับการสอนให้ราบรื่นจัดห้องให้เหมาะกับเทคนิคการสอนหลีกเลี่ยงการพูดซ้ำซาก
หยุมหยิมการคาดโทษ ต้องระวัง14/06/537พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล : จิตวิทยาสำหรับครู
8.
ทำอย่างไรเมื่อเกิดความไม่สงบในห้องเรียนนักเรียนดื้อนักเรียนแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมนักเรียนคุยเก่งเมตตาธรรมของครู
พรหมวิหาร 4ครูไม่พูดค่อนแคะครูส่งเสริมระเบียบ14/06/538พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล :
จิตวิทยาสำหรับครู
9.
ห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพการจัดที่นั่งของนักเรียนบรรยากาศของห้องเรียนเปิดโอกาสนักเรียนอธิบายกฎของห้องการเตรียมการสอนของครูหน้าที่ของครู14/06/539พิพัฒน์
พรพรรณนุกูล : จิตวิทยาสำหรับครู
10.
ครูจะแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียนอย่างไร14/06/5310พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล :
จิตวิทยาสำหรับครูเทคนิค : 1. ควบคุมตนเอง 2. เตือน 3. กริยาท่าทาง 4. น้ำเสียง 5.
เชิญพบ
11.
14/06/5311พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล :
จิตวิทยาสำหรับครูนักเรียนที่มีพฤติกรรมรุนแรงรบกวนครู
และการเรียนรู้ของเพื่อนในห้อง ท่านจะแก้ปัญหาอย่างไร (เป็นรูปธรรมชัดเจน)
และการเรียนรู้ของเพื่อนในห้อง ท่านจะแก้ปัญหาอย่างไร (เป็นรูปธรรมชัดเจน)
12.
14/06/5312พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล :
จิตวิทยาสำหรับครูท่านจะลงโทษนักเรียนอย่างไรในเชิงบวก
(เป็นรูปธรรมชัดเจน)
(เป็นรูปธรรมชัดเจน)
13.
14/06/5313พิพัฒน์ พรพรรณนุกูล :
จิตวิทยาสำหรับครูคุณคือครูในอนาคตศึกษาและปฏิบัติมากๆ
จะเก่งเอง !!!
จะเก่งเอง !!!
บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน
บทบาทของครู
บทบาทของครู
หมายถึงภาระหน้าที่ที่ครูต้องรับผิดชอบ บทบาทของครูทั้งในอดีตและปัจจุบัน
พอสรุปได้ดังนี้คือ
1.1. บทบาทของครูในการเป็นผู้บริหาร
ครูอาจารย์ที่เป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษาได้แก่ครูใหญ่อาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการซึ่งเปรียบเสมือนเฟืองจักรใหญ่ที่จะกำกับและควบคุมให้ครูผู้สอน
ซึ่งเป็นเฟืองจักรเล็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพผู้บริหารเป็นผู้นำสถาบันที่ควรต้องเป็นกลไกใหม่ในการจัดการศึกษา
จัดบุคคลจัดสถานที่ จัดบริการต่าง ๆ
เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปสู่เป้าหมายของหลักสูตรที่วางไว้ ฉะนั้น หลักต่าง ๆ
ที่ควรจำไว้ปฏิบัติมีดังนี้
1. ต้องเป็นผู้บริหารที่เป็นหัวหน้าที่ดี
มีประสิทธิภาพใช้ผู้ร่วมงานให้ได้ประโยชน์มาก ต้องเป็นผู้วางมาตรการในการทำงาน
การผลิตได้สูง แต่ปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาแตกต่างไปบ้าง
ทำงานโดยคำนึงถึงความสำเร็จของงานรวมกับสัมพันธภาพ
ผู้ร่วมงานดีเป็นแบบอย่างที่ดีทำให้ทุกคนร่วมงานกัน
ร่วมมือกันทำงานที่ได้รับมอบหมาย มีความรับผิดชอบสูงและมีวิธียั่วยุในการทำงาน
2. มีความสามารถในการสร้างแนวความคิดและความสมเหตุสมผล คือ สามารถรวมปัจจัย
ข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่าง ๆ เข้าเป็นแรงความคิดอันหนึ่งอันเดียวกันได้
3. กล้าตัดสินใจ มองทะลุได้ และไม่หวั่นต่ออุปสรรค
4. การตัดสินใจที่ใช้ญาณหยั่งรู้ คือสามารถตัดสินใจฉับพลันได้ทันที
แต่สุขุมรอบคอบละเอียดลึกซึ้ง
5. เป็นคนใจกว้าง สนใจและยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ
รวมทั้งความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกับของผู้อื่น
6. มีความสามารถในการชักจูงผู้อื่นให้เห็นพ้องต้องกัน
วิธีที่ดีที่สุดให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ในรูปแบบแผนที่เหมาะสม(ทองคำ ผดุงสุข, 2532 : น. 104
– 105)
1.2 บทบาทของครูในการเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริม
และพัฒนาเยาวชน
โดยการให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียน
ให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพตามหลักสูตร
ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญไม่ว่าจะจัดการสอนโดยวิธีใด
ครูต้องมีการวางแผนและเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ไม่ละทิ้งเด็ก
และมีการจัดกิจกรรมเสริม เพื่อให้เด็กเข้าใจในบทเรียนยิ่งขึ้น
นอกจากการสอนวิชาความรู้แล้ว
ครูยังมีบทบาทในการสอนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม และมีความสุขตามควรแก่อัตภาพ
1.3 บทบาทของครูในการเป็นผู้นำด้านศีลธรรม คุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยม
โดยการประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
มีศีลธรรม สุขภาพ มีความเมตตากรุณา เอื้ออาทรต่อความเป็นอยู่ของศิษย์
คอยช่วยเหลือเมื่อศิษย์มีปัญหา มีความอดทนและเสียสละ
1.4 บทบาทของครูในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
การปกครอง
ด้านเศรษฐกิจ
ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก
มีการพัฒนาทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และธุระกิจ
ครูเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ
โดยการให้ความรู้แก่นักเรียน และเน้นทักษะในการทำงานต่าง ๆ
เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้ที่ได้มาตรฐานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นครูควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน
ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ทำสวนครัว ปลูกผัก
และไม้ดอก เป็นต้น
ส่งเสริมให้เด็กรู้จักออมทรัพย์ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ชุมชน
เพื่อให้เด็กนักเรียนและคนในชุมชนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์
รู้จักหลักโภชนาการที่ถูกต้อง รู้จักการรักษาความสะอาดและรู้จักการวางแผนครอบครัว
แนะนำอาชีพใหม่ ๆ ให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมอาชีพดังกล่าว
และส่งเสริมให้มีการผลิตและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการประกอบอาชีพของชุมชน
เพื่อทำให้ปฏิบัติงานได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น
แนะนำการใช้ปุ๋ย การผสมเทียมสัตว์ และการนำเครื่องมือเครื่องใช้มาช่วยด้านเกษตร
เป็นต้น.
ด้านสังคม
ครูมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม
โดยการให้ความรู้แก่คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความรู้วิชาสามัญหรือวิชาชีพก็ตาม
เพราะจะทำให้คนในชุมชนมีพื้นฐานการศึกษาอันจะนำไปสู่ความรู้และความเข้าใจในเรื่องต่าง
ๆ รอบ ๆ ตัวได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นครูยังมีส่วนช่วยในการริเริ่ม
ส่งเสริมและแนะนำในเรื่องการประกอบอาชีพ ความเป็นอยู่
และการพัฒนาชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี.
ด้านการเมืองการปกครอง
ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและระบบการเมืองการปกครองของประเทศ
และมีส่วนช่วยในการพัฒนาการเมืองการปกครอง ให้มีความมั่นคง
โดยการให้ความรู้ในเรื่องระบบการปกครองของประเทศ
โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแก่เด็กและคนในชุมชน
สนับสนุนและฝึกหัดให้นักเรียนรู้จักรูปแบบการปกครองประเทศ
โดยให้มีการจัดตั้งสภานักเรียน การเลือกหัวหน้าชั้น เป็นต้น
นอกจากนั้นครูยังช่วยแนะนำประชาชนในเรื่องการเลือกตั้งผู้แทนในระดับต่าง ๆ
อย่างถูกต้อง
1.5 บทบาทของครูในการช่วยส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรม
โดยการช่วยทะนุบำรุงรักษาพระศาสนาให้มีความมั่นคงควบคู่กับสถาบันชาติและพระมหากษัตริย์
มีความเลื่อมใสและศรัทธาในศาสนาที่นับถือ ปฏิบัติตามหลักธรรมและปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ
นอกจากนั้นครูจะต้องช่วยส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมของชาติให้มั่นคง
ถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามให้แก่เด็ก
ช่วยกันจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและส่งเสริมให้มีการจัดห้องวัฒนธรรมในโรงเรียน
1.6 บทบาทของครูในการพัฒนาประเทศ
คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา
ได้กล่าวถึงบทบาทของครูในการพัฒนาประเทศว่า (คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา,2535 : 188 - 190)ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับสูง
มีการจัดการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติซึ่งเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ
นับเป็นแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติระยะที่ 7 (พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ. 2539) การดำเนินการพัฒนาการศึกษาในแต่ละแผนได้มีการประเมินผลเพื่อใช้ในการปรับปรุงปฏิบัติงานในระยะต่อมาโดยตลอดปัญหาทางการศึกษาที่ผ่านมาเป็นเรื่องของปริมาณการศึกษา
คือ เยาวชนของประเทศยังขาดโอกาสทางการศึกษาในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่จะช่วยให้พลเมืองส่วนใหญ่มีคุณภาพหนทางแก้ปัญหาส่วนหนึ่งได้มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างกว้างขวาง
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535
- 3539) ได้กำหนดวัตถุ-ประสงค์ และนโยบายในระดับประถมศึกษาที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่จบประถมศึกษาได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือได้รับการศึกษาต่อเนื่องในรูปแบบต่าง
ๆ มากขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2534) กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานตามนโยบายนี้โดยการจัดทำโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก
3 ปี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2534และมีเป้าหมายที่จะดำเนินการให้ครบทุกโรงเรียนในปีการศึกษา 2540 ตามหลักการนี้รัฐจะต้องเพิ่มปริมาณสถานศึกษาต้องสนับสนุนงบประมาณวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา
เพิ่มครูทั้งปริมาณและคุณภาพ
การประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและสำหรับเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นรัฐได้กำหนดไว้ว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับและเป็นภาระผูกพันของรัฐที่จะต้องดำเนินการให้ประชากรในวัยเรียนได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างทั่วถึง
และมีประสิทธิภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2526 :1)การที่จะพัฒนาการศึกษาโดยส่วนรวมให้มีคุณภาพจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพเป็นลำดับแรก
อันจะส่งผลไปยังการศึกษาระดับอื่น ๆ
หรือการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพด้วย
ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนเนื่องจากครูเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาติดต่อสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองโดยตรงครูจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียนและเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆในทิศทางที่พึงประสงค์แก่ท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่โดยเฉพาะครูประถมศึกษาซึ่งมีจำนวนมากที่สุดและใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดครูเป็นผู้มีความรู้สูงเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่ว
ๆ ไปในสังคมชนบท สุเทพ เชาวลิต (2524 : 7 ) ได้ระบุถึงบทบาทของครูในเขตชนบทว่า ครูเป็นผู้นำชนบทที่สำคัญ
เป็นผู้ที่มีความรู้ แจ้งข่าวสารต่าง ๆ แก่ชาวบ้านได้
ชาวบ้านเดือดร้อนมักมาหาครูขอคำปรึกษา ครูจึงเป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน
นอกจากนี้(เมธี ปิลันธนานนท์, 2524 : 31 – 34 ) ได้ระบุถึงบทบาทของครูกับการพัฒนาชนบทยากจนได้ว่า
ครูที่ทำงานชนบทยากจนมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความเสียสละ
อดทนพากเพียรและมีกุศลจิตดังนั้นครูจะต้องเป็นตัวอย่างในด้านการมีบทบาทในการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนและช่วยพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ยากจน
นอกเหนือจากการสอนในชั้นเรียน ครูจึงควรจะมีบทบาทพัฒนาชุมชนในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ
และอาชีพ สังคมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย และการเมืองการปกครอง
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการศึกษาถือว่าเป็นบทบาทโดยตรงของครู
เพราะการให้การศึกษา เป็นหน้าที่โดยตรงสำหรับคนที่มีวิชาชีพครูจะกระทำได้โดยการพยายามใช้ความรู้ความสามารถและใช้ประโยชน์จากวัสดุและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชนแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน
ครูอาจทำได้ดังนี้คือ
1.จัดหลักสูตรการเรียนการสอน
พยายามเน้นหนักในด้านแก้ปัญหาและสนองความต้องการของท้องถิ่น
2.การจัดการศึกษามุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
ๆ(ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2526 : 168)
3. ปรับปรุงโรงเรียนเป็นศูนย์ประสานงานบริการด้านวิชาการ และข่าวสาร
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ,
2527 : 26 )
ครูซึ่งมีจำนวนมากและกระจายอยู่ในท้องถิ่นต่าง
ๆ ทั่วประเทศจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถภาพในด้านต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านการศึกษาให้มีส่วนในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
สรุป
การศึกษาเป็นกลยุทธอย่างหนึ่ง ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ซึ่งการลงทุนทางการศึกษาของมนุษย์ก็เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่า และคุณภาพของมนุษย์ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไปการผลิตผู้ที่มีการศึกษาเป็นการผลิตกำลังคนเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
ซึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตกำลังคนที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังนั้นแนวโน้มการผลิตผู้มีการศึกษาในอนาคตจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นสำคัญ.
หลักการที่สำคัญของครู
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.
มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.
มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-
ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-
ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น